วันอาทิตย์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

                                                   บันทึกการเรียนครั้งที่3

                การเรียนในครั้งนี้นะคะอาจารย์สอนเรื่องการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัยค่ะโดยเริ่มจากการตัดกระดาษเเบ่งเป็น 10 ช่องๆละเท่าๆกันหลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้อธิบายรายละเอียดของสื่อที่เราจะทำกันตามขั้นตอนค่ะ

                                 ' อุปกรณ์การทำสื่อ"
     
1. ดินสอ
2. ไม้บันทัด
3. สีเมจิก
4. กระดาษ
5. กรรไกร
6. มีคัดเตอร์
7. เเผ่นรองตัด

                                 ขั้นตอนการทำสื่อ
        ขั้นที่1
นำกระดาษมาตัดแบ่งครึ่งจะได้ทั้งหมด4แผ่น แผ่นละเท่าๆกัน

        ขั้นที่2
นำมาวัดขีดแบ่งช่องเป็นเเนวนอน 10 ช่อง เเนวตั้ง 4 แถว วัดช่องละ 2 นิ้ว แล้วตัดออก ซึ่งจะได้ทั้งหมด 2 ชุด 2 แถว

         ขั้นที่3
นำกระดาษขาวที่เหลือในส่วนที่ตัดออกเพื่อที่จะมาทำส่วนต่อไปซึ่งนำกระดาษที่ขีดเป็นช่องเสร็จแล้วนำมาวางแนบเป็น 3 ช่อง 2 เเถว เเล้วขีดเส้นนำไปตัดออกจำนวน2แผ่น และวัด2 นิ้ว ขีดลงมาตามความยาวสามารถใช้สีเมจิกเพื่อให้เห็นเส้นความชัดเจนของช่อง

       ขั้นที่4
นำกระดาษติดกาวข้างหลังกระดาษแผ่นที่ตัดคือ เเผ่นยาวกับเเผ่นเล็กให้เชื่อมติดกันทำแบบนี้ทั้ง 2 ชุด เเล้วเทปใสมาติดข้างหน้าระหว่างรอยเชื่อมเหมือนเดิมสามารถผับได้

      ขั้นที่5 
เขียน สิบ หน่วย ในช่องของเเผ่นเล็ก

      ขั้นที่6
นำกระดาษที่เหลือมาขีดวัดช่องเพื่อที่จะเขียนตัวเลข 0-9 โดยวัดช่องละ 2 นิ้ว จำนวน 10 ช่องเเล้วเเต่เเบ่งช่องครึ่งเป็น 1 นิ้ว ได้ทั้งหมด 20 ช่องเขียนตัวเลขนำไปตัดออกจะได้ทั้งหมดชุดละ 10 ชิ้น จำนวนตัวเลข 0-9 เป็น 2 ชุด

     ขั้นที่7
นำกระดาษที่เขียนตัวเลข 0-9 ที่ตัดออกเป็นชิ้นเสร็จเรียบร้อยแล้วมาวางไว้ที่ช่อง สิบ หน่วย

    ภาพบรรยากาศในห้องเรียน









      สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมนี้

ได้ทำสื่อคณิตศาสตร์ที่เราสามารถทำได้ง่ายๆให้เด็กปฐมวัยได้เรียนรู้จากสื่อได้เรียนรู้เป็นขั้นเเรกของการเรียนรู้และเราสามารถนำเอาสิ่งที่เราเรียนรู้เเละลงมือทำในครั้งนี้สามารถนำเอาความรู้ครั้งรี้ไปใช้ในอนาคต



       กิจกรรมที่ 2
อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม2กลุ่มเพื่อที่จะทำกิจกรรมวิธีสอนคณิตศาสตร์ด้วยดินน้ำมันค่ะและอาจารย์ให้ปั้นดินน้ำมันคนละสีอาจารย์ให้เราคิดว่าเราจะปั้นอะไรก็ได้ชิ้นเล็กๆเมื่อปั้นเส็จอาจารย์ให้บอกชื่อผลไม้ที่เราปั้นเป็นภาษาอังกฤษและหลังจากนั้นอาจารย์ให้เราไปหยิบสื่อกิจกรรมที่แล้วมา 1 ชุด นำมาวางตรงกลางเเละนำผลงานของเเต่งละคนมาวางเรียงกันสื่อทั้งหมดมี 14 ชิ้น ซึ่งอาจารย์ได้ถามว่าเมื่อเราสอนคณิตศาสตร์เด็กจะได้อะไรบ้าง 

1. รูปทรง
2. การนับจำนวน
3. การบอกจำนวน

แล้วสามารถนำตัวเลขมาวางไว้บนผลไม้เพื่อบอกจำนวนของผลไม้

                  การที่เราใช้เกณฑ์ของหลักคณิตศาสตร์คือการนำเป็นตัวพิจราณาสำหรับเด็กอย่างเช่นการเเยกรูปทรง การรเปรียบเทียบ การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำส่งข้อมูลไปยังสมองเเล้วซึมซับ เหมือนน้ำที่เเตกกระจายพอเจอสิ่งใหม่บางอย่างเหมือนความรู้เดิมทำให้เกิดสิ่งใหม่

ภาพบรรยากาศในห้องเรียน







  


          "คำศัพท์"

1. Tamarimg       มะขาม
2. Orange            ส้ม
3. Count              จำนวนนับ
4. Number           ตัวเลข
5. Molding clay   ปั้นดินน้ำมัน
6. Apple               แอปเปิ้ล
7. Grape               องุ่น
8. Banama            กล้วย
9. Arithmetic        เลขคณิต
10. Circle              วงกลม


                                  " ประเมินผล"
  
                                 "ประเมินตนเอง"

วันนี้ดิฉันเข้าเรียนไวเเละให้ความร่วมมือกิจกรรมภายในห้องเรียนกับเพื่อนค่ะเเละเเสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อนค่ะ

                                   "ประเมินเพื่อน"

เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์เเละเเต่ละคนร่วมเเสดงความคิดเห็นช่วยกันสามัคคีตั้งใจทำงานกลุ่มเพื่อให้ออกมาดีที่สุดค่ะมองไปทางไหนก็เห็นเเต่รอยยิ้มของเพื่อนๆค่ะ

                                   "ปรเมินอาจารย์"

อาจารย์อธิบายเรื่องราวต่างๆให้เข้าใจเเละช่วยซึมซับด้วยการให้ลงมือทำเเละแสดงความคิดเห็นค่ะ







       


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น